วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาและการวางผังเมือง



                การศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยาและการวางผังเมือง ( กาญจนบุรี)
       เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2555 อาจารย์ ดร.สาวิตรี รตโนภาส สุวรรณลี อาจารย์ ปัทมพร วงศ์วิริยะ อาจารย์จิระเดชมาจันแดง พร้อมด้วยนิสิตภาควิชา ภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากร ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2ได้ออกไปศึกษานอกพื้นที่ที่เขื่อนวชิราลงกรณ์ พิพิธพันธฑ์ช่องเขาขาด แม่น้ำแคว น้ำตกไทรโยค น้ำพุร้อนหินดาด สืบเนื่องมาจากภาควิชาภูมิศาสตร์ได้เปิดสอนวิชาธรณีวิทยา วิชาการวางผังเมืองและผังภาค วิชาภูมิศาสตร์กายภาพ เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ประกอบการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์หลักดังต่อไปนี้ 
  1. ศึกษาลักษณะทางธรณีวิทยา
  2. ศึกษาการตั้งถิ่นฐานของประชากร
  3. ศึกษาลักษณะการวางผังเมืองและการดำรงชีวิต
  4. ศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์
  5. ศึกษาลักษณะทางกายภาพ
ตลอดจนให้นิสิตนำความรู้ที่ได้รับจากการลงพื้นที่ระยุกต์ใช้กับสารสนเทศด้านต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นการนำลักษณะการกัดกร่อนของดินมาวิเคราะห์ร่วมกับโปรแกรม GIS หรือการนำการรับรู้ระยะไกลมาดูการกระจายตัวของเมืองเป็นต้น


 




 

 


วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โครงการศึกษานอกสถานที่ (อุทยานแห่งชาติภูกระดึง)



                        ศึกษาเส้นทางสายธรรมชาติ ณ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
     อุทยานแห่งชาติภูกระดึงนับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงเป็นมากที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากมีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงามและมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลายในที่แห่งเดียวไม่ว่าจะเป็น น้ำตก ทุ่งหญ้า ป่าสน สัตว์ป่า สายหมอก รวมถึงสภาพอากาศที่ปลอดโปร่งและความสวยงามทางธรรมชาติ
     เนื่องจากลักษณะทางธรรมชาติบวกกับลักษณะทางกายภาพที่สมบูรณ์จึงทำให้เหมาะสมกับการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 20-21 มกราคม 2555 ดร. สาวิตรี รตโนภาส สุวรรณลีและคณะนิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 รวมกับอุทยานแห่งชาติภูกระดึงได้จัดทำโครงการศึกษานอกสถานที่เกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในด้านต่างๆ ดังนี้
 1. ศึกษาลักษณะด้านกายภาพ ได้แก่ พืชพรรณทางธรรมชาติ สัตว์ป่า เป็นต้น 
 2. ศึกษาลักษณะภูมิประเทศ
 3. ศึกษาลักษณะด้านภูมิอากาศ 
 4. ศึกษาลักษณะด้านธรณีวิทยา
เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการศึกษาในห้องเรียนแล้วนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและบูรณาการกับศาสตร์ด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านอุตุนิยมวิทยา ด้านการจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ ด้านการกัดกร่อนของดิน ด้านการกระจายตัวของพื้นที่ป่าเป็นต้น
         ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะนำความรู้จากการที่ได้ลงพื้นที่จริงมาใช้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติที่นับวันจะเสื่อมสภาพหรือกำลังจะสูญพันธุ์ในอนาคต










ที่มา: ภาควิชาภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากร

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ กรมแผนที่ทหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 


     เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม  2555 ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการจัดกิจกรรมประกอบการศึกษาวิชา การอ่านแผนที่และการแปลภาพถ่ายทางอากาศ โดยอาจารย์ ดร.สาวิตรี รตโนภาส สุวรรณลี และอาจารย์ปัทมพร วงศ์วิริยะ ได้นำนิสิตภาควิชาภูมิศาสตร์ ชั้นปีที่1 จำนวน 93 คน เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำแผนที่จากผู้ที่มีความรู้และความชำนาญเพื่อให้นิสิตนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประกอบการศึกษาในห้องเรียน ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 กิจกรรมดังนี้ 
 1. ศึกษาลักษณะการวางผังเมืองกรุงเทพมหานคร
 2. ศึกษาขั้นตอนการทำแผนที่ (กรมแผนที่ทหาร)
 3. ศึกษากิจกรรมทางเศรฐกิจ
   ซึ่งในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ได้มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (Global Positioning Systems-GPS) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems-GIS) ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความมั่นคงของประเทศในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ได้มีการประยุกต์และพัฒนาการนำมาได้ซึ่งข้อมูลไปใช้ รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมไว้ใช้ในเฉพาะหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องตามภารกิจการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆเหล่านี้มาใช้ในการประมวลผลและนำเสนอออกมาในรูปแผนที่ได้  เนื่องจาการศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ต้องมีการลงพื้นที่เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำแผนที่จากการปฏิบัติงานที่แท้จริงซึ่งจะทำให้เราเข้าใจการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนของการทำแผนที่ได้อย่างชัดเจนจะทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์ 
    ดังนั้นการจัดการศึกษาดูงานนอกสถานที่นั้นถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาอย่างแท้จริง





 


โรงพิมพ์แผนที่





































ที่มา: ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

https://sites.google.com/site/krunoptechno/kar-prayukt